กฎ :
๑. โคลงสี่สุภาพหนึ่งบท หนึ่งบทมี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค บาทที่ ๑-๓ บังคับคำบาทละ ๗ คำ ส่วนบาทที่ ๔ บังคับคำ ๙ คำ (ตรงนี้ผมขอเน้นเป็นคำ ไม่ใช่ พยางค์ นะครับ เพราะอะไรจะคุยทีหลัง)๒. บังคับคำวรรณยุกต์เอก ๗ คำ และคำวรรณยุกต์โท ๔ คำ ตามผัง คือ (เฉพาะบังคับเอกสามารถใช้คำตายแทนได้)
๒.๑ บาทที่ ๑ บังคับเอกที่คำที่ ๔ และโทที่คำที ๕ (เฉพาะบาทนี้ สามารถสลับตำแหน่ง เอก โท ได้ ครับ)
๒.๒ บาทที่ ๒ บังคับเอกที่คำที่ ๒ และ ๖ บังคับโทที่คำที่ ๗
๒.๓ บาทที่ ๓ บังคับเอกที่คำที่ ๓ และ ๗
๒.๔ บาทที่ ๔ บังคับเอกที่คำที่ ๒ และ ๖ และบังคับโท ที่คำที่ ๕ และ ๗
๓. บังคับสัมผัสสระ
๓.๑ คำสุดท้าย ของบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และ ๓ และคำสัมผัสนี้ ไม่นิยมใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์
๓.๒ คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔
๔. สามารถเติมคำสร้อยได้ ในบาทที่ ๑ และ ๓ (บางตำราว่าบาทที่ ๔ ก็เติมได้ แต่ไม่นิยมครับ) เฉพาะกรณีเนื้อความไม่ครบหรือสื่อความหมายไม่สมบูรณ์ แต่ขอให้เป็นคำเดียวแล้วหาคำสร้อยมาเติมเอา เช่น พ่อนา แม่เอย รักฤๅ เป็นต้น
๕. คำสุดท้ายของบท ให้จบด้วยคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ และขอให้เป็นเสียงจัตวา หรือ สามัญ ถ้าจบเป็นคำเสียงจัตวาได้จะดีมาก เพราะการอ่านโคงต้องอาศัยลูกเอื้อ
ตัวอย่าง